วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บรรณานุกรมและผู้จัดทำ


REFERENCES;

http://www.kr.ac.th/ebook2/songkeat/03.html
https://sites.google.com/site/kruwiruttwk/xiththiphl-tx-kha-niym-thang-phes
http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/sexual_value/02.html
https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/736x/32/04/2e/32042ea715da1dec1c88375a2b82ed03.jpg
http://www.thisisfamily.org/wp-content/uploads/2014/03/pregnancy-with-no-ready.jpg
https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSHiYpfew2lQd1C4w5aH5fFva8342JGLn-QJWXuUkiinXB9pk_2
http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/sexual_value/01.html http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/sexual_value/02.html

https://sites.google.com/site/kruwiruttwk/xiththiphl-tx-kha-niym-thang-phes

ผู้จัดทำ ม.5/5
น.ส.ธิษณาพร มุ่งมีพฤทธิ์ เลขที่ 3
น.ส.เพ็ญพชร สีลกันตสูติ เลขที่ 7
นาย กนกพล ไหมอ่อน เลขที่ 9
นาย กฤษฏิ์ เสถียรธรรมกุล เลขที่10
นาย ธฤต ปิยะวรรณรัตน์ เลขที่ 16

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกต่อค่านิยมทางเพศ
     ปัจจุบันวัฒนธรรมตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางสังคมของไทยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องมากจากเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ก้าวหน้า รวดเร็ว ส่งผลทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมลอกเลียนแบบ และดำเนินชีวิตตามวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งวัฒนธรรมบางอย่างก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมมากมาย โดยเฉพาะการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม

     การเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตกไม่ว่าจากสื่อโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือ หรืออินเตอร์เน็ตก็ตาม ได้ทำให้ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยเปลี่ยนไป ซึ่งวัฒนธรรมบางอย่างส่งผลดี เช่น การกล้าแสดงความคิดเห็น ความขยัน และความทุ่มเทให้กับงาน การมองโลกในแง่บวก การมีแนวคิดที่ดีต่างๆ เป็นต้น ในขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างกลายเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย จากพฤติกรรมวัยรุ่น
เช่น เสรีภาพในการคบเพื่อนต่างเพศ ซึ่งบางครั้งมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์


การถูกเนื้อต้องตัวระหว่างชายกับหญิงมีมากขึ้น
พฤติกรรมการแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ เช่น การโอบกอด การแต่งกายที่ล่อแหลม


กิริยามารยาทที่ไม่เรียบร้อย การแสดงออกอย่างเปิดเผยในเรื่องเพศ หรือการที่วัยรุ่นหญิงบางคนตามจีบผู้ชาย เป็นต้น

อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในสังคมไทย พอจะสรุปได้ดังนี้
  1. ปัญหาเรื่องเพศ เช่น การคบเพื่อนต่างเพศอย่างไม่เหมาะสม การออกเที่ยวกลางคืนกับเพื่อนต่างเพศ การแต่งกายดึงดูดเพศตรงข้าม เปิดเผยให้เห็นของสงวนมากเกินไป การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน เป็นต้น
     
  2. ปัญหาสังคม เช่น การมั่วสุมกันในสถานเริงรมย์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การทำแท้ง การใช้สารเสพติด เป็นต้น



    ดังนั้น เมื่อไม่อาจสกัดกั้นวัฒนธรรมต่างๆ ที่แพร่กระจายเข้ามาได้ จึงควรเลือกและสร้างค่านิยมในเรื่องเพศที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย เช่น ลด ละ เลิก การเที่ยวสถานบริการทางเพศ ไม่สำส่อนทางเพศ ไม่คบเพื่อนต่างเพศโดยไม่เลือกหน้า ฝ่ายชายแสดงความเป็นสุภาพบุรุษให้เกียรติไม่ล่วงเกินสุภาพสตรี เป็นต้น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศ


1.ศาสนา คำสอนของศาสนาต่างๆ จะมีคำสอนให้บุคคลมีค่านิยมที่ดีในเรื่องเพศ ไม่ให้ประพฤติผิดศิลธรรม


2.เจตคติทางเพศของเพศหญิงและเพศชาย เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน และการเรียนรู้จากประสบการชีวิต หากมีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ชีวิตที่ดี ย่อมจะส่งผลให้เกิดความเข้าใจและปฏิบัติตามค่านิยมทางเพศได้อย่างถูกต้อง
3.เจตคติทางเพศของพ่อแม่ที่ถ่ายทอดประสบการณ์สู่ลูก จากการสั่งสอนและอบรมและปลูกฝังค่านิยมทางเพศในวัยเด็ก โดยส่วนใหญ่เด็กผู้ชายมักจะลอกเรียนแบบค่านิยมจากพ่อ เด็กผู้หญิงมักจะลอกเรียนแบบค่านิยมจากแม่ เช่น เด็กในครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกันและมักจะเห็นพ่อทำร้ายร่างายแม่อยู่เสมอ อาจส่งผลให้เด็กมีค่านิยมทางเพศที่ส่อไปในทางเบี่ยงเบนทางเพศ หรือ อาจรู้สึกกลัวต่อการมีคู่ครองเป็นต้น
4.บุคลิกภาพ ลักษณะของบุคคลซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีการแสดงออกให้เห็นได้ทั้งจากภายนอกและภายใน เช่น ความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้แสดงพฤติกรรมทาเพศ เช่น การแต่งกาย การพูดจา
5.ความรู้สึกผิดทางเพศ จะเป็นตัวยับยั้งหรือจำกัดความอิสระทางเพศ เช่น การอบรมว่าเป็นหญิงต้องรักนวลสงวนตัว

6.บรรทัดฐานทางสังคม  ในเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ระเบียบกฏเกณฑ์ต่าง 


     ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value) หมายถึง หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์ กระบวนการขัดเกลาและถ่ายทอดทางสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ

     ในประเทศไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเฉพาะค่านิยมในเรื่องเพศ  มีมุมมองได้ 2 ทาง ดังนี้คือ

     1.ค่านิยมทางเพศในเรื่องที่ไม่ดีสำหรับคนไทย ได้แก่
1.1  การไม่เผยแพร่ความจริงในเรื่องเพศหรือการไม่ให้ความรู้เรื่องเพศแก่ บุตรหลาน                
        โดยคิดว่าเป็นเรื่องหยาบคาย หรือน่าอาย
           1.2  การไม่สนันสนุนหรือส่งเสริมให้บุคคลในสังคมพูดคุยกันในเรื่องเพศอย่างเปิดเผย
           1.3  การยกย่องให้เพศชายเป็นใหญ่กว่าเพศหญิง
           1.4  การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสโดยถือว่าเพศชายไม่ผิด



        
     ค่านิยมเหล่านี้ทำให้บุคคลในสังคมมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องรวมทั้งมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเอาเปรียบเพศตรงกันข้ามเมื่อมีโอกาส ความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ การดูถูกเพศตรงกันข้าม  อันเป็นผลต่อความรักความผูกพัน ความสงบสุข ในครอบครัวและสังคมโดยรวม

2.ค่านิยมทางเพศที่ดีของสังคมไทย
              1.หญิงไทยมักจะรักนวลสงวนตัว ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน
              2.ชายไทยไม่ควรสำส่อนทางเพศเพราะอาจเกิดผลเสียโดยการติดโรค
              3.ชายไทยมีความรับผิดชอบต่อเพศหญิง ไม่หลอกลวง ไม่ข่มเหงน้ำใจ
              4.ชายไทยรับผิดชอบต่อครอบครัว
       
        วัยรุ่นในปัจจุบันควรมีเจตคติที่ดีว่าทั้งสองเพศมีความสำคัญเท่าเทียมกัน การสร้างสรรค์สังคมจึงจะเกิดขึ้น
                
        ค่านิยมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีและยังใช้ได้ในสังคมปัจจุบัน วัยรุ่นจึงควรรักษาค่านิยมที่ดีไว้เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา เช่น ครอบครัวแตกแยก โรคทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์นอกสมรส การค้าประเวณี การสำส่อนทางเพศ เป็นต้น      หลักในการเลือกคู่ครองสภาพปัจจุบันชายและหญิงมักตัดสินใจเลือกคู่ครองด้วยตนเองโดยไม่ขอคำปรึกษาจากพ่อแม่และญาติพี่น้อง หรือผู้ใหญ่  จึงทำให้ชีวิตมีทั้งประสบผลสำเร็จและล้มเหลวได้

หลักในการเลือกคู่ครองโดยทั่วไป

          1.มีความรักเป็นพื้นฐาน  เพราะความรักเป็นการแสดงความรู้สึกถึงความผูกพัน ความหวงแหน ความห่วงใย มีความรักใคร่ในคู่ครองที่เราเลือกและควรเลือกคู่ครองที่รักเรา



          2.มีสภาวะด้านต่างๆเหมาะสม เช่น
               2.1 อายุ  ควรอยู่ในเกณฑ์ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ซึ่งมีความพร้อมทางร่างกาย
               2.2 สุขภาพร่างกาย  เช่น โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อชีวิตสมรสได้ ดังนั้นจึงมีควรตรวจสุขภาพและ ถ้าพบว่ามีโรคภัยไข้เจ็บต้องรักษาให้หายเสียก่อน
               2.3 วุฒิภาวะทางอารมณ์ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับผู้ครองเรือน เพราะวุฒิภาวะทางอารมณ์จะเป็นผู้สุขุมรอบคอบ มีเหตุผล มีความรับผิดชอบ ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และสามารถปรับตัวได้ดี
               2.4 ระดับสติปัญญา คู่สมรสควรมีระดับสติปัญญาใกล้เคียงกัน เพราะหากสติปัญญาแตกต่างกันมักจะคุยกันไม่รู้เรื่อง
               2.5 คู่สมรสควรมีบุคลิกภาพและรสนิยมใกล้เคียงกัน
               2.6 ศาสนาแต่ละศาสนาจะมีศาสนพิธีแตกต่างกันถ้าคู่สมรสต่างศาสนาควรมีการพูดคุยตกลงเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในพิธีกรรมของศาสนาแต่ละฝ่ายเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในครอบครัว
               2.7 วัฒนธรรม เป็นวิธีการดำเนินชีวิตสืบทอดกันมา วัฒนธรรมที่คล้ายกันย่อมปรับตัวเข้ากันได้ง่าย
               2.8  ฐานะทางเศรษฐกิจ  ต้องใกล้เคียงกัน มีการวางแผนการจับจ่ายในครอบครัว