วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

     ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value) หมายถึง หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์ กระบวนการขัดเกลาและถ่ายทอดทางสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ

     ในประเทศไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเฉพาะค่านิยมในเรื่องเพศ  มีมุมมองได้ 2 ทาง ดังนี้คือ

     1.ค่านิยมทางเพศในเรื่องที่ไม่ดีสำหรับคนไทย ได้แก่
1.1  การไม่เผยแพร่ความจริงในเรื่องเพศหรือการไม่ให้ความรู้เรื่องเพศแก่ บุตรหลาน                
        โดยคิดว่าเป็นเรื่องหยาบคาย หรือน่าอาย
           1.2  การไม่สนันสนุนหรือส่งเสริมให้บุคคลในสังคมพูดคุยกันในเรื่องเพศอย่างเปิดเผย
           1.3  การยกย่องให้เพศชายเป็นใหญ่กว่าเพศหญิง
           1.4  การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสโดยถือว่าเพศชายไม่ผิด



        
     ค่านิยมเหล่านี้ทำให้บุคคลในสังคมมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องรวมทั้งมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเอาเปรียบเพศตรงกันข้ามเมื่อมีโอกาส ความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ การดูถูกเพศตรงกันข้าม  อันเป็นผลต่อความรักความผูกพัน ความสงบสุข ในครอบครัวและสังคมโดยรวม

2.ค่านิยมทางเพศที่ดีของสังคมไทย
              1.หญิงไทยมักจะรักนวลสงวนตัว ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน
              2.ชายไทยไม่ควรสำส่อนทางเพศเพราะอาจเกิดผลเสียโดยการติดโรค
              3.ชายไทยมีความรับผิดชอบต่อเพศหญิง ไม่หลอกลวง ไม่ข่มเหงน้ำใจ
              4.ชายไทยรับผิดชอบต่อครอบครัว
       
        วัยรุ่นในปัจจุบันควรมีเจตคติที่ดีว่าทั้งสองเพศมีความสำคัญเท่าเทียมกัน การสร้างสรรค์สังคมจึงจะเกิดขึ้น
                
        ค่านิยมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีและยังใช้ได้ในสังคมปัจจุบัน วัยรุ่นจึงควรรักษาค่านิยมที่ดีไว้เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา เช่น ครอบครัวแตกแยก โรคทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์นอกสมรส การค้าประเวณี การสำส่อนทางเพศ เป็นต้น      หลักในการเลือกคู่ครองสภาพปัจจุบันชายและหญิงมักตัดสินใจเลือกคู่ครองด้วยตนเองโดยไม่ขอคำปรึกษาจากพ่อแม่และญาติพี่น้อง หรือผู้ใหญ่  จึงทำให้ชีวิตมีทั้งประสบผลสำเร็จและล้มเหลวได้

หลักในการเลือกคู่ครองโดยทั่วไป

          1.มีความรักเป็นพื้นฐาน  เพราะความรักเป็นการแสดงความรู้สึกถึงความผูกพัน ความหวงแหน ความห่วงใย มีความรักใคร่ในคู่ครองที่เราเลือกและควรเลือกคู่ครองที่รักเรา



          2.มีสภาวะด้านต่างๆเหมาะสม เช่น
               2.1 อายุ  ควรอยู่ในเกณฑ์ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ซึ่งมีความพร้อมทางร่างกาย
               2.2 สุขภาพร่างกาย  เช่น โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อชีวิตสมรสได้ ดังนั้นจึงมีควรตรวจสุขภาพและ ถ้าพบว่ามีโรคภัยไข้เจ็บต้องรักษาให้หายเสียก่อน
               2.3 วุฒิภาวะทางอารมณ์ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับผู้ครองเรือน เพราะวุฒิภาวะทางอารมณ์จะเป็นผู้สุขุมรอบคอบ มีเหตุผล มีความรับผิดชอบ ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และสามารถปรับตัวได้ดี
               2.4 ระดับสติปัญญา คู่สมรสควรมีระดับสติปัญญาใกล้เคียงกัน เพราะหากสติปัญญาแตกต่างกันมักจะคุยกันไม่รู้เรื่อง
               2.5 คู่สมรสควรมีบุคลิกภาพและรสนิยมใกล้เคียงกัน
               2.6 ศาสนาแต่ละศาสนาจะมีศาสนพิธีแตกต่างกันถ้าคู่สมรสต่างศาสนาควรมีการพูดคุยตกลงเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในพิธีกรรมของศาสนาแต่ละฝ่ายเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในครอบครัว
               2.7 วัฒนธรรม เป็นวิธีการดำเนินชีวิตสืบทอดกันมา วัฒนธรรมที่คล้ายกันย่อมปรับตัวเข้ากันได้ง่าย
               2.8  ฐานะทางเศรษฐกิจ  ต้องใกล้เคียงกัน มีการวางแผนการจับจ่ายในครอบครัว







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น